วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กระบวนการทำงานของหัวใจ

กระบวนการทำงานของหัวใจ
 
     1. วงรอบการทำงานของหัวใจ (cardiac cycle) วงรอบการทำงานของหัวใจ หมายถึง ลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเต้นของหัวใจหนึ่งรอบ (รูปที่ 1 ) ได้แก่
        1.1 ซิสโทล (systole) หมายถึง การหดตัวของห้องหัวใจที่ทำให้ห้องหัวใจว่างลง การหดตัวมีทั้งห้องบนและห้องล่าง จังหวะการทำงานเกิดเมื่อเลือดจากวงจรไหล
เวียนของเลือดทั่วร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา ในขณะที่ห้องบนซ้ายก็รับเลือดจากปอด ปริมาตรและความดันจะเริ่มสูงขึ้นในห้องบน ซึ่งเกิดขึ้นในระยะคลายตัว  เมื่อ
ความดันห้องบนมากกว่าห้องล่าง ลิ้นเอ-วีจะเปิดให้เลือดไหลเข้าสู่ห้องล่างซึ่งอยู่ในระยะคลายตัว จากนั้นห้องบนจะดีโพลาไรเซชัน ทำให้เกิดการหดตัวเรียกว่า เอเทรียล
ซิสโทล(atrial systole) บีบตัวไล่เลือดให้ผ่านจากห้องบนลงสู่ห้องล่าง   เหตุการณ์นี้จะเริ่มเพิ่มปริมาตรและความดันของหัวใจห้องล่าง    ขณะที่หัวใจห้องบนคลายตัว
หัวใจห้องล่างก็เริ่มดีโพลาไรเซชันเพื่อการหดตัว ทำให้ความดันมากขึ้น ความดันที่มากขึ้นนี้จะทำให้ลิ้นเอ-วีปิด มีผลให้เกิดเสียงหัวใจเสียงที่ 1 (first heart sound) ระยะ
นี้ลิ้นหัวใจปิดหมดทุกลิ้น ระยะนี้มีการหดตัวไอโซเมตริก หรือเรียกว่าการหดตัวไอโซโวลูมเมตริก (isometric contraction หรือ isovolumetric contraction) ซึ่งหมายถึง
กล้ามเนื้อมีความตึงตัว มีแรงดัน แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของใยกล้ามเนื้อ จากนั้นหัวใจห้องล่างมีความดันสูงกว่าห้องบน ทำให้ลิ้นพัลโมนารีและลิ้นเอออร์ติกเปิด
คลื่นดีโพลาไรเซชันจะแผ่กระจายไปทั่วห้องล่าง ทำให้เกิดเวนตริคิวลาร์ ซิสโทล (ventricular systole) มีการหดตัวของหัวใจห้องล่างตามมา เลือดจะถูกสูบออกจากหัวใจ
โดยเลือดจากห้องล่างซ้ายจะเข้าสู่หลอดเลือดเอออร์ตา เลือดจากห้องล่างขวาจะเข้าสู่หลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี ระยะนี้เป็นระยะที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ
อย่างรวดเร็ว (rapid ejection period) และเป็นระยะเริ่มต้นการบีบตัว แล้วจะเกิดระยะลดการสูบฉีด (reduce ejection) ตามมา ระยะนี้ความดันในห้องล่างจะเริ่มต่ำลง
ห้องบนเริ่มมีความดันสูงกว่าห้องล่าง เกิดรีโพลาไรเซชันของกล้ามเนื้อหัวใจ   เมื่อความดันของหัวใจห้องล่างต่ำลง จะทำให้เลือดในเอออร์ตา   และพัลโมนารี อาร์เทอรี
ดันกลับ เป็นผลให้ลิ้นเอออร์ติกและลิ้นพัลโมนารีปิด ทำให้เกิดเสียงหัวใจเสียงที่สอง   ในระยะนี้เรียกว่าโปรโตไดแอสโทล (protodiastole) ระยะนี้ลิ้นเอ-วียังปิดอยู่เนื่อง
จากแรงดันของเลือดจากการบีบตัวของห้องล่างซ้าย เป็นระยะของการคลายตัวไอโซโวลูมเมตริก (isovolumetric หรือ isometric relaxation)     หลังจากระยะนี้แล้ว
ก็จะเริ่มการทำงานในวงรอบใหม่
        1.2 ไดแอสโทล (diastole) หมายถึง ระยะการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนและระหว่างที่มีเลือดไหลเข้าสู่ห้องหัวใจ ระยะการคลายตัวดังกล่าวมีทั้งเอเทรียล
และเวนตริคิวลาร์ ไดแอสโทล (atrial and ventricular diastole) ของห้องบนและห้องล่าง
 
รูปที่ 1  แผนผังวงจรการทำงานของหัวใจ (แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการบีบและคลายตัวของ หัวใจห้องบนและล่างกับการเปิดปิดของลิ้นในระยะต่าง ๆ
ในหนึ่งรอบวงจรการเต้น) เป็นขั้นตอนดังนี้
     1. เริ่มต้นเอเทรียล ซิสโทล หัวใจห้องบนบีบตัวไล่เลือดจำนวนน้อยเข้าห้องล่างที่คลายตัว ; 2, เอเทรียล ซิสโทลสิ้นสุดเลือดทั้งหมดจากห้องบนเข้าสู่ห้องล่าง ;
     3, ระยะแรกของเวนตริคิวลาร์ ซิสโทลห้องล่างบีบตัวผลักลิ้นเอ-วีปิด แต่แรงดันยังไม่เพียงพอที่จะดันให้เซมิลูนาร์เปิด ; 4. ระยะที่สองของเวนตริคิวลาร์ ซิสโทล
ห้องล่างบีบตัวมากขึ้นมีแรงดันมากกว่าในหลอดเลือดอาร์เทอรี ทำให้ดันลิ้นเซมิลูนาร์เปิดเลือดถูกสูบออกจากหัวใจ; 5, ระยะเริ่มแรกของเวนตริคิลาร์ ไดแอสโทล
ห้องล่างลดลงความดันของเลือดในหลอดเลือดดันกลับมีผลทำให้ลิ้นเซมิลูนาร์ปิด ห้องบนเริ่มคลายตัวเลือดเริ่มเข้าสู่ห้องบน ;6.ระยะท้ายของเวนตริคิวลาร์ ไดแอสโทล
หัวใจทุกห้องคลายตัวเต็มที่เลือดในห้องบนเริ่มถูกสูบเข้าสู่ห้องล่าง (ลูกศรสีดำแสดงทิศทางการไหลของเลือด ; ลูกศรสีเขียวแสดงทิศทางการบีบตัวของหัวใจ)
ที่มา ; ดัดแปลงจาก Martini (2006)
ดูภาพเคลื่อนไหวที่นี่>  http://www.youtube.com/watch?v=rguztY8aqpk
 
     2. อัตราการเต้นของหัวใจ ในวงรอบการทำงานของหัวใจมีการสร้างคลื่นไฟฟ้า โดยมีจุดเริ่มต้นคือเอส-เอ โนด ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณรอยต่อของหลอดเลือด
แครเนียล เวนา คาวากับหัวใจห้องบนขวา เรียกว่าเป็นตัวเริ่มต้นการทำงานของหัวใจ คลื่นไฟฟ้าจากเอส-เอ โนด จะแผ่ไปที่ห้องบนเป็นผลให้เกิดการหดตัวของหัวใจห้องบน
และคลื่นถูกส่งต่อไปยังเอ-วี โนดที่อยู่ในผนังกั้นระหว่างห้องบน    แล้วส่งต่อไปยังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง โดยผ่านเอ-วีบันเดิลกับเส้นใยเพอร์คินเจ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วหัวใจ
ห้องล่างทำให้ครบรอบการเต้น 1 ครั้ง (รูปที่ 2) อัตราการเต้นของหัวใจวัดเป็นครั้งต่อนาที เช่น โค 40 ครั้งต่อนาที สุกร 60 - 80 ครั้งต่อนาที ไก่ 200 – 400 ครั้งต่อนาที
และคน 70-100 ครั้งต่อนาที เป็นต้น
     การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำได้โดยใช้สเตทโตสโคป (stetoscope)    วางทาบตรงตำแหน่งตอนล่างของหน้าอก  ขยับมาทางด้านซ้ายเล็กน้อยฟังเสียงและจับเวลา
การทำงานของหัวใจทำให้เกิดการแกว่งของส่วนปลายด้านแหลมไปในแนวตามเข็มนาฬิกา เนื่องจากห้องบนและห้องล่างมีการหดตัวไม่พร้อมกัน เรียกการแกว่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า
เอเพ็ก บีท (apex beat) ที่สามรถสัมผัสได้ที่หน้าอกตรงตำแหน่งของปลายด้านแหลมของหัวใจ
     อัตราการเต้นของหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติและฮอร์โมน ปรกติแล้วประสาทอัตโนมัติทั้งซิมพาเธติก และพาราซิมพาเธติกมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
แตกต่างกัน โดยที่ประสาทซิมพาเธติกมีผลกระตุ้นให้เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ส่วนพาราซิมพาเธติกมีผลลดอัตราการเต้นของหัวใจ ประสาททั้งสองระบบจะควบคุมผ่านทาง
เอส-เอ โนด (รูปที่ 2 และ 3)  นอกจากนี้ฮอร์โมนที่มีฤทธิ์คล้ายกับสารที่หลั่งโดยปลายประสาทซิมพาเธติก ซึ่งได้แก่ นอร์อีพิเนฟรินที่หลั่งโดยต่อมหมวกไตส่วนในก็มีผลเพิ่ม
 
 
 
 
 
รูปที่ 2 รูปวาดแสดงการกระตุ้นของคลื่นไฟฟ้าของหัวใจในการเต้นหนึ่งครั้ง
(จะเห็นเอส-เอ โนดสร้างคลื่นไฟฟ้า (ระบายสีฟ้า) ออกมาและแผ่ทั่วห้องบน หลังจากนั้น
คลื่นจะผ่านเอ-วี โนดมาตามเอ-วี บันเดิล แล้วแผ่ไปทั่วหัวใจห้องล่างโดยเส้นใยเพอร์คินเจ)
ที่มา ; ดัดแปลงจาก Vander และคณะ (2001)
 
 
 


 
อัตาราการเต้นของหัวใจ ในขณะที่สารเคมีที่มีโครงสร้างแบบเดียวกันกับสารที่หลั่งโดยปลายประสาทของพาราซิมพาเธติกซึ่งได้แก่ อะซีติลโคลีน ก็มีผลลดอัตราการเต้นของ
หัวใจ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย  ความเข้มข้นของอีเล็กโตรไลท์ในพลาสมา (กรณีนี้เกี่ยวข้องกับ
ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ; aldosterone)  และผลิตผลที่เกิดจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ  เช่น  อะดีโนซีน  แต่ปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่า
นอกจากผลจากระบบประสาทอัตโนมัติที่มีต่อเอส-เอ โนดแล้ว ยังมีต่อเอ-วี โนด และระบบเหนี่ยวนำพิเศษของหัวใจอีกด้วย
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 3 แผนผังแสดงปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ
(ในรูปแสดงเฉพาะผลต่อเอส-เอโนดและมีผลเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจลูกศรชี้ขึ้นแสดง
ผลเพิ่มขึ้น ส่วนลูกศรในสี่เหลี่ยมที่ชี้ไปด้านตรงกันข้ามเป็นผลที่มาจากประสาท
พาราซิมพาเธติกที่ลดลง)
ที่มา ; Vander และคณะ (2001)
 




 
 
     3. คาร์ดิแอก เอาท์พุท (cardiac output ; CO) และสโตรก โวลูม (stroke volume ; SO) ในวงจรการทำงานของหัวใจทำให้เกิดการไหลของเลือดออกจากหัวใจ    การไหลของเลือด
ออกจากหัวใจห้อง ล่างต่อการเต้นหนึ่งครั้งเรียกว่า สโตรก โวลูม ส่วนคาร์ดิแอก เอาท์พุทหมายถึง ปริมาตรของเลือดที่ออกจากหัวใจห้องล่างในเวลา 1 นาที       ดังนั้นคาร์ดิแอก เอาท์พุท
จะเท่ากับสโตรก โวลูม x อัตราการเต้นของหัวใจ
     มมติว่าสโตรก โวลูมเท่ากับ 70 มล. และอัตราการเต้นของหัวใจเป็น 72 ครั้งต่อนาที คาร์ดิแอก เอาท์พุทจะมีค่าเท่ากับ 70 x 72 = 5,040 มล.ต่อนาที หรือคร่าว ๆ ประมาณ 5 ลิตรต่อ
นาที  คาร์ดิแอก เอาท์พุท และสโตรก โวลูม จะเปลี่ยนไปตามการทำงานของหัวใจ ขึ้นกับการควบคุมการทำงานของหัวใจเอง นอกจากนี้สโตรก โวลูมยังขึ้นกับความแรงของการบีบตัวของ
หัวใจห้องล่าง ซึ่งหมายถึงความสามารถในการบีบหรือไล่เลือดออกจากหัวใจห้องล่าง และยังขึ้นกับปริมาตรของเลือดที่มาจากห้องบนเข้าสู่หัวใจห้องล่างในจังหวะสิ้นสุดของการบีบตัว และ
เป็นจังหวะเริ่มต้นของการคลายตัวของหัวใจห้องล่างที่เรียกว่า กลไกแฟรงค์-สตาร์ลิง (The Frank-Starling mechanism)  หมายความว่าสโตรก โวลูมขึ้นกับความสามารถในการบีบตัวไล่
เลือดของห้องบนเข้าสู่ห้องล่างด้วยเช่นกัน     ดังนั้นที่กล่าวมาทั้งหมด ทั้งคาร์ดิแอก เอาท์พุท และสโตรก โวลูมที่เพิ่มขึ้นมีผลมาจากปัจจัยหลักคือคลื่นประสาทซิมพาเธติกที่มาเลี้ยงหัวใจ
(รูปที่ 4 และ 5)
 
 
 
 
รูปที่ 4 แผนผังแสดงการควบคุมสโตรก โวลูมโดยการทำงานร่วมกันของฮอร์โมนและระบบประ สาทอัตโนมัติ
ที่มา ; Vander และคณะ (2001)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 5 แผนผังแสดงปัจจัยหลักทีมีผลต่อคาร์ดิแอก เอาท์พุท
(ผลรวมจากรูปที่ 3 และ 4 ; ลูกศรในสี่เหลี่ยมชี้ขึ้นแสดงถึงการเพิ่มขึ้นส่วนลูกศรใน
สี่เหลี่ยมที่ชี้ลงคือผลที่ลดลง)
ที่มา ; Vander และคณะ (2001)
 
 
 
 
 
 
 
      4. เสียงของหัวใจ (heart sounds) ในวงรอบการทำงานของหัวใจมีเสียงหัวใจ เสียงของหัวใจได้ยินเสียงดังเป็นสองเสียงติดต่อกันตลอดเวลา เสียงแรกดัง “ตุ๊บ” (lub) เสียงที่สองดัง
“ตั๊บ”(dup) เสียงแรกเกิดจากการปิดของลิ้นเอ-วี ในขณะที่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง  เสียงที่สองเกิดจากการ สั่นของลิ้นเซมิลูนาร์คือ ลิ้นเอออร์ติกกับลิ้นพัลโมนารี เมื่อลิ้น
ทั้งสองปิดเมื่อสิ้นสุดระยะโปรโตไดแอสโทลบางครั้งอาจพบเสียงที่ 3 เป็นเสียงเบา ๆ (murmur) เกิดจากเลือดไหลย้อนผ่านลิ้นกลับคืน ในกรณีของโรคลิ้นหัวใจรั่ว เสียงของหัวใจสามารถ
วัดออกมาเป็นคลื่นทางไฟฟ้าโดยเขียนออกมาเป็นกราฟเรียกว่า โฟโนคาร์ดิโอแกรม (phonocardiogram ; รวมอยู่ในรูปที่ 7)
     5. ลักษณะคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ  กล้ามเนื้อหัวใจสามารถสร้างคลื่นไฟฟ้าขึ้นมาได้เอง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเอง คลื่นไฟฟ้านี้จะกระจายไปตามส่วนต่าง  ๆ
ของหัวใจ และผ่านไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วทั้งหัวใจ     คลื่นนี้สามารถบันทึกได้จากพื้นผิวของร่างกายทั่ว ๆ ไป โดยเครื่องมือที่ไวต่อการรับคลื่นนี้เรียกว่า อีเล็กโตรคาร์ดิโอกราฟ (electro -
cardiograph)      เครื่องมือนี้สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจเป็นกราฟเรียกว่า อีเล็กโตรคาร์ดิโอแกรม (electrocardiogram ; ECG ; EKG) ซึ่งประกอบด้วยคลื่นพี คิว อาร์ เอส และที
(P,Q,R,S และ T)    ดังรูปที่ 6 คลื่นพีเป็นคลื่นดีโพลาไรเซชันซึ่งเกิดจากการแผ่ขยายคลื่นไฟฟ้าจากเอส-เอ โนดไปตามกล้ามเนื้อห้องบน  จะทำให้เกิดการหดตัวของหัวใจห้องบนตามมา
คลื่นคิว อาร์ และเอสเป็นคลื่นดีโพลาไรเซชันที่เกิดร่วมกัน (QRS complex) จะแพร่กระจายไปตามเอ-วี บันเดิล และแขนงของมันไปยังกล้ามเนื้อของหัวใจห้องล่าง เพื่อเริ่มการหดตัวของ
หัวใจห้องล่าง และคลื่นทีเป็นคลื่นของรีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องล่าง (สำหรับสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดในวงรอบการทำงานของหัวใจอยู่ในรูปที่ 7)
 
 
รูปที่ 8.27 อีเล็กโตรคาร์ดิโอแกรมประกอบด้วยคลื่นพี คิว อาร์ เอส และทีในแต่ละวงรอบ
ที่มา ; Vander และคณะ (2001)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 8.28 แผนผังสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวงจรการทำงานของหัวใจ และความสัมพันธ์ ระหว่างความดัน
ของหัวใจห้องต่าง ๆ กับเวลา
ที่มา ; Frandsond และคณะ (2006)
 
 
 
 
 
 
 
 

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์




ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

IDevice Icon ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ะบบการทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือๆ
1.หน่วยประ่มวลผลกลาง (Central Processing Unit = CUP) เปรียบเสมือนสมองของ
คอมพิวเตอร์ เพราะทำหน้าที่คิดคำนวณและประมวลผลชุดคำสั่ง ๆที่เราสั่งเข้าไป
2.หน่วยรับข้อมูลเข้า (INput Unit) เป็นอุปกรณ์ที่รับและส่งข้อมูลเข้าไปในระบบ
คอมพิวเตอร์เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) , และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น
3.หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ได้จากการประมวลผล
ต่างๆ โดยอาจจะแสดงออกมา เช่น
- จอภาพ
- เครื่องพิมพ์
แฟกซ์
IDevice Icon อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
1.ตัวเครื่อง (Case) ทำหน้าที่ป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นด้านในเพื่อไม่ให้
ชิ้นส่วนที่สำคัญภายในได้รับความเสียหาย ที่ตัวเครื่องจะเห็นแต่ CD-ROM Driver Disk,
ปุ่ม Power ปุ่ม Restart ที่ติดตั้งอยู่ภายนอก
2.จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาเป็นตัวเลข ตัวอักษร
ข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีลักษณะคล้ายจอโทรทัศน์
3.เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บังคับตัวชี้ (Mouse Pointer) บนจอภาพเพื่อเลือก
คำสั่งต่างๆแทนการป้อนคำสั่งทางคีย์บอร์ด ช่วยในการทำงานสะดวกและรวดเร็ว มี
รูปร่างคล้่ายหนูจังเรียนว่า เมาส์
4.แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เชื่อม
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่
หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะ
ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆที่ถูกฉาบด้วย
หมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้าเมื่อถูกกดจนติดก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจรเมื่อผู้ใช้กดแป้น
ใดแป้นหนึ่งข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส
(Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษรตัวเลข
หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ
แป้นพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้าย
แป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีดโดยจะมีปุ่มตัวอักษร สัญลักษณ์ และอักขระต่างๆตาม
มาตรฐานสากลแต่มีแป้นกดที่ทำหน้าที่พิเศษเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีปุ่มต่างๆ ทั้งสิ้น 101
ปุ่มแต่ปัจจุบันอาจเพิ่มปุ่มพิเศษมากขึ้นอีกเพื่อสนับสนุนการใช้งานกับโปรแกรมที่
พัฒนาขึ้นมาใหม่ๆ

โรคริดสีดวงทวาร


ปิยพร พยัฆพรม
วิจัยมาตรฐานสมุนไพร

จากสภาวะสังคมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความแก่งแย่งแข่งขันกัน ทั้งในด้านอาชีพการงาน
และด้านอื่นๆ ทำให้ ทุกคนต้องตื่นตัวและกระตือรือร้นกันตลอดเวลา เพื่อให้ชีวิตของตนเองนั้นอยู่รอด
ได้ในสังคม ทำให้บางครั้งมีการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องอยู่เสมอ เช่น นั่งทำงานบนเก้าอี้ทำงานตลอดทั้งวัน
รีบเร่งในการรับประทานอาหาร ทำให้ไม่มีเวลาเลือกอาหารที่มีประโยชน์ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนถนน
และอยู่บนรถทำให้ขับถ่ายไม่เป็นเวลา ทำให้เกิดอาการท้องผูกอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ก่อให้เกิด
โรคริดสีดวงทวารเป็นจำนวนมาก ดังนั้นควรทำความรู้จักกันก่อนว่า โรคริดสีดวงทวารคืออะไร เกิดจาก
อะไร มีทั้งหมดกี่ชนิด สามารถป้องกันและรักษาได้อย่างไรบ้าง
โรคริดสีดวงทวาร หรือ Hemorrhoids เป็นโรคที่พบว่ามีคนไข้เป็นจำนวนมาก พบได้ใน
เพศหญิงและเพศชาย โดยปกติอาการในระยะแรกจะไม่รุนแรง มักเป็นๆ หายๆ กล่าวคือ เป็นโรคที่
สามารถหายได้เองในระยะแรก แต่บางคนอาจมีการดำเนินของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว
คนที่มีการดำเนินของโรคมากขึ้นจะมีจำนวนไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปี ก่อนจะถึงระดับที่
รุนแรงจนกระทั่งต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด
โรคริดสีดวงทวาร คือ โรคที่มีลักษณะหลอดเลือดดำที่ไส้ตรง (Rectal or Hemorrhoidal
Veins) โป่งพองหรือขอด ทำให้มีอาการเจ็บๆ คันๆ ในระยะแรกและจะเพิ่มเป็นอาการเจ็บปวดใน
ระยะหลัง โรคนี้มีอาการที่สำคัญ คือ เลือดออกขณะหรือหลังอุจจาระ เนื่องจากเมื่อหลอดเลือดโป่งพอง
มากขึ้น การโป่งพองนี้จะทำให้การเสียดสีระหว่างอุจจาระกับเส้นเลือดที่โป่งพองมีมากขึ้นทำให้เกิด
การแตกแยกเป็นแผลและเลือด ออกขณะและหลังถ่ายอุจจาระได้
โรคริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ริดสีดวงภายในและริดสีดวงภายนอก
1. โรคริดสีดวงทวารภายใน (Internal Hemorrhoids) เกิดจากการที่ผนังตอนบน
ของช่องทวารหนักมี Internal Hemorrhoids Plexus ต่อกับ Superior Hemorrhoidal Vein
เกิดการโป่งพองซึ่งโรคริดสีดวงทวารชนิดนี้มีความเจ็บปวดไม่มาก เนื่องจากบริเวณที่เกิดเป็นชั้น
ใต้เยื่อเมือก ไม่ มีเส้นประสาทรับความรู้สึกปวด
2. โรคริดสีดวงทวารภายนอก (External Hemorrhoids) เกิดจากช่องทวารหนักส่วน
ใกล้ปากทวารหนัก ซึ่งมี External Hemorrhoids Plexus ผิวหนังรอบทวารหนักเกิดการโป่งพอง
ซึ่งผิวหนังรอบทวารหนักมีเส้นประสาทรับความความรู้สึกปวด ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารภาย
นอกนี้ จะรู้สึกเจ็บปวดมาก
โรคริดสีดวงทวารสามารถแบ่งความรุนแรงของอาการและการโผล่ออกของริดสีดวงทวาร
ได้ดังนี้
1. First degree hemorrhoids เกิดเฉพาะที่บริเวณทวารหนัก มีเส้นเลือดดำโป่งพอง
ในทวารหนักเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระจะปรากฏว่ามีเลือดไหลออกมาด้วย ถ้ายิ่งท้องผูกเลือดจะไหลออก
มามากขึ้นเพราะเกิดจากการเบ่งมากขึ้น ทำให้มีการเสียดสีกับหลอดเลือดที่มีการโป่งพองมากขึ้น
2. Second degree hemorrhoids เมื่อถ่ายอุจจาระ ก้อนริดสีดวงทวารจะโผล่ยื่นออกมา
แต่สามารถหดกลับเข้าไปข้างในเองได้เมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จ
3. Third degree hemorrhoids ก้อนริดสีดวงจะโผล่ออกมาตลอดเวลา และไม่สามารถ
กลับเข้าไปข้างในเองได้ ต้องอาศัยนิ้วช่วยดัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร1. ท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
2. ท้องเสียเรื้อรัง
3. ภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งสาเหตุนี้โรคริดสีดวงทวารสามารถหายเองได้หลังจากที่คลอดบุตรแล้ว
4. พันธุกรรม
5. ความชรา
การรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนั้นควรพิจารณาจากชนิดและ
ความรุนแรงของโรคเป็นหลักในการรักษา
1. การใช้ยาระงับอาการ ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น เช่น อาการปวด การอักเสบ
และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาทา ยารับประทาน ยาเหน็บ ยาฉีด
2. การใช้ยางรัด (rubber band ligation)
3. การจี้ริดสีดวงทวารด้วยอินฟราเรด (infrared photocoagulation)
4. การจี้ริดสีดวงทวารด้วย bipolar coagulation
5. การผ่าตัดริดสีดวงทวาร
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร1. ระวังอย่าให้ท้องผูก ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ และ
ยาเพิ่มเส้นใย (เช่น psyllium, เมธิลเซลลูโลส) และต้องถ่ายอุจจาระอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งเป็นประจำ
เพราะท้องผูกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ
2. รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์โดยการออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน
จะทำให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
3. ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่มขึ้น ทำให้
ง่ายต่อการขับถ่ายและเป็นการลดการเสียดสีกับเส้นเลือดที่บริเวณทวารหนัก
ปัจจุบันโครงการการใช้สมุนไพรกับการสาธารณสุขและตำรายาแผนโบราณหลายเล่มได้
กล่าวถึงสมุนไพรชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวารซึ่งเป็นการดีมากทีเดียว
ถ้ามีสมุนไพรไทยที่มีประสิทธิภาพการรักษาใช้เองได้ในประเทศ เพื่อลดการนำเข้ายาที่รักษาโรค
ดังกล่าวจากต่างประเทศ จึงทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งและนักวิจัยหลายท่านได้ให้ความสนใจ
และศึกษาสมุนไพรชนิดนี้มากขึ้น ทั้งด้านประสิทธิภาพในการรักษาโรคริดสีดวงทวารและความเป็น
พิษของสมุนไพรดังกล่าวทั้งในระยะเฉียบพลันและในระยะเรื้อรัง พบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความน่า
สนใจมากทีเดียวในการใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารเนื่องจากประสิทธิภาพในการรักษาใกล้เคียงกับ
ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคดังกล่าวและในการศึกษาพิษแบบเฉียบพลันพบว่าเป็นสมุนไพรที่มีความ
เป็นพิษเฉียบพลันเพียงเล็กน้อยจนถึงไม่มีความเป็นพิษเลย แต่ยังต้องศึกษาต่อถึงพิษของสมุนไพร
ในระยะเรื้อรังต่อไปซึ่ง สมุนไพรที่กล่าวถึงนี้คือ "เพชรสังฆาต" นั่งเอง
เพชรสังฆาต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis Linn.
วงศ์ : Vitaceae
ชื่ออื่น : สันชะคอด, สามร้อยต่อ, สามร้อยข้อ, ขั่นข้อ, สันชะฆาต
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อย ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมอวบน้ำ มีรอยคอดบริเวณข้อ
แต่ละข้อจะมีใบเดี่ยว 1 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปไข่ ขนาดกว้าง 3-8 ซม. ยาว 4-10
ซม. ขอบใบหยักมน เนื้อใบค่อนข้างหนา ตรงข้ามใบมีมือเกาะ ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นช่อออกตรง
ข้างใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวแกมเหลือง กลีบด้านในสีทองแกมเขียว ผลสดมีลักษณะกลมขนาด
6 มม.
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ ได้แก่
เถา : รักษากระดูกแตก ซ้น โรคริดสีดวงทวาร ยาระบายขับพยาธิ แก้ปวด ขับลมในลำไส้
ใบและยอดอ่อน : รักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
น้ำคั้นจากลำต้น : รักษาโรคลักปิดลักเปิด ความผิดปกติของประจำเดือน หูน้ำหนวก และ
เลือดกำเดาไหล
สารเคมีที่พบ : quadrangularins A, B, C, pallidol, -amyrone, b-sitosterol,
quercetin, keto- steroid, oxo-steroid, calcium oxalate crystal, carotene, vitamin C
โรคริดสีดวงทวารสามารถรักษาได้โดยหลายวิธี สามารถรักษาได้ทั้งจากยาแผนปัจจุบัน
และยาสมุนไพร แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ พยายามป้องกันการเกิด โรคริดสีดวงทวารจะดีกว่า เพื่อลด
ความทรมานจากการเจ็บปวดที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเจริญของโรคริดสีดวงทวารไปในทางที่รุนแรง
จนถึงขั้นต้องผ่าตัดหรือจี้หัวริดสีดวงทวาร แต่ถ้าไม่สามารถป้องกันการเกิดได้ กล่าวคือมีการ
ดำเนินของโรคผ่านไปจนถึงขั้นรุนแรงแล้วและมีความจำเป็นต้องมีการรักษาโดยการผ่าตัดหรือจี้หัว
ริดสีดวงทวารออกก็ควรจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถและเป็น
โรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการรักษาพยาบาลแก่
ผู้ป่วยอย่างสูงสุด